ที่มาของชื่อวิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
โดยชื่อ “โรงเรียนสารพัดช่างนครหลวง” มีที่มาคือ นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พระองค์ทรงโปรดให้สร้าง พระนครแห่งใหม่ขึ้น ที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งก็คือกรุงเทพมหานครฯ จวบจนปัจจุบันนี้ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 วันสถาปนา กรุงเทพ มหานคร หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายนปีเดียวกันจากนั้นได้เล็งเห็นว่า พระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรี นั้นมีวัดขนาบสองข้างทำให้ขยายให้กว้างขวางออกไปไม่ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครแห่งใหม่ คือ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยสร้างขึ้นที่ฝั่งตะวันออก หรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาได้ทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 นาฬิกา ซึ่งได้จารึกติดอยู่ที่เสาหลักเมืองว่า “วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 เวลาย่ำรุ่ง 54 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325” การสร้างกรุงเทพนั้นใช้เวลาถึง 3 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีกำแพงเมืองและป้อมปราการแข็งแรงมั่นคง อีกทั้งให้ขุดคูเมืองทางทิศตะวันออก ผังเมืองพยายามลอกเลียนกรุงศรีอยุธยามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายราชธานีจากฝั่งธนบุรีมาที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งพระราชทานนามพระนครใหม่ว่า “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงเปลี่ยนจาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…” เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2514 รัฐบาลได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ซี่ง วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสารพัดช่างนครหลวง” ใช้ชื่อตามจังหวัดที่ตั้งคือจังหวัด นครหลวงกรุงเทพธนบุรี ในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2515 รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเป็น กรุงเทพ มหานคร แต่วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง ยังยืนยันใช้ชื่อเดิม