ประวัติการก่อตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
ข้อมูลสถานศึกษา
ประวัติวิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง เป็นสถานศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 โดย ตรงกับวันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีชวด วุธวาร(ว) อาสยุชมาส จัตวาศก จุลศักราช 1334 , คริสตศักราช 1972 , มหาศักราช 1894 รัตนโกสินทร์ศก 191 , สุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน , จันทรคติ เป็น อธิกมาส ปกติวาร
ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสารพัดช่างนครหลวง” ใช้สถานเดิมของวิทยาลัยวิชาการก่อสร้างซึ่งอยู่ในบริเวณที่ดินของวัดเทพนารี ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 332 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 68ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบาง กรุงเทพมหานคร 10700
วิทยาลัย ฯ ตั้งอยู่ในเขตบางพลัด ซึ่ง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขต กรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้า และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน
ที่ตั้งและอาณาเขต ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของฝั่งธนบุรี) มี อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี) มีทางรถไฟสายใต้เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางซื่อ เขตดุสิต และเขตพระนครมีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกน้อย มีถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกอกน้อยและเขตตลิ่งชัน มีถนนบรมราชชนนีและคลองบางกอกน้อยเป็นเส้น แบ่งเขต
ประวัติ เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอําเภอชั้นในอําเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อําเภอบางพลัดต่อมาถูกลด ฐานะเป็น ตําบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอําเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัด พระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2515 ตําบล บางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครต่อมาในเดือน มกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสํานักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบําหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็นเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่ เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัดและ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวง มหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยตัดพื้นที่ แขวงบางบําหรุและบางยี่ขัน เฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ากลับไป เป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง การแบ่งเขตการปกครอง เขตบางพลัดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง (Khwaeng) ได้แก่
1) บางพลัด (Bang Phlat) มีพื้นที่ประมาณ 3.296 ตร.กม.
2) บางอ้อ (Bang O) มีพื้นที่ประมาณ 3.846 ตร.กม.
3) บางบําหรุ (Bang Bamru) มีพื้นที่ประมาณ 2.332 ตร.กม.
4) บางยี่ขัน (Bang Yi Khan) มีพื้นที่ประมาณ 2.886 ตร.กม. รวมพื้นที่ทั้งหมด 11.360 ตร.กม.
มีชุมชน 48 ชุมชน แขวงบางยี่ขัน (13 ชุมชน) แขวงบางบําหรุ (6 ชุมชน) แขวงบางพลัด (15 ชุมชน) แขวงบางอ้อ (14 ชุมชน)
สําหรับพื้นที่เขตบางพลัดที่สถานศึกษาตั้งอยู่ ประชากรในชุมชนจากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่ามี อาชีพ รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 41.14 ค้าขาย ร้อยละ 14.10 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.42 ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท ร้อยละ 8.28 ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 4.93 อื่น ๆ ร้อยละ 22.14
รอบรั้ววิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
ทำเนียบผู้บริหารสถานศึกษา อดีต จนถึงปัจจุบัน ดังนี้
ทำเนียบผู้บริหาร วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง
นายไพโรจน์ บุญญะโรจน์
พ.ศ.2515 – 2529
นายอัมพร ภักดีชาติ
พ.ศ. 2529 – 2530
นายไพโรจน์ บุญญะโรจน์
พ.ศ.2530 – 2535
นายประชุมพงษ์ สมบูรณ์ศิลป์
พ.ศ.2535 – 2546
นายสุกุล สุวรรณธาดา
พ.ศ.2547 – 2550
นางอุบลวรรณ วิสัยจร
พ.ศ.2551 – 2553
นางพัชราภรณ์ ไชยนาม
พ.ศ.2554 – 2558
ดร.วิลาวัณย์ เลิศวีระวัฒน์
พ.ศ.2558 – 2563
ดร.ภูมิพัฒน์ แก้วมูล
พ.ศ.2563 – ปัจจุบัน
ได้เปิดทำการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นครั้งแรกในปีการศึกษา 2516 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ปี 2515 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้ง โรงเรียนสารพัดช่างนครหลวง สักกัดกองส่งเสริมอาชีพ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีอาคาร เรียนเรือนไม้ 2 หลัง โรงฝึกงาน 3 ห้อง 1 หลัง หอประชุม 1 หลัง ห้องส้วม 1 หลัง
ปี 2516 ดาเนินการปรับปรุงอาคารสถานที่ และเตรียมการจัดการเรียนการสอนโดยมีคณะครู-อาจารย์ รวม 19 คน เปิดสอนหลักสูตร วิชาชีพระยะสั้นเป็นรุ่นแรก 10 แผนกวิชา คือ ช่างวิทยุโทรทัศน์ ช่างไฟฟ้า ช่างเชื่อมโลหะ ช่างไม้ครุภัณฑ์ ช่างตัดเสื้อสตรี ช่างตัวเสื้อชาย ช่างเสริมสวย ช่างตัดผม บัญชี และพิมพ์ดีดรวมนักศึกษา 282 คน
ปี 2518 เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยาสั้นเพิ่ม 2 แผนกวิชา ได้แก่ ช่างเครื่องยนต์ อาหาร-ขนม และระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยรับนักเรียนจากวิทยาลัยจักรพงศ์ภูวนาท รวม 3 แผนกวิชา คือ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ ช่างเครื่องยนต์ จำนวนนักเรียน 154 คน
ปี 2519 เปิดสอนแผนกวิชาช่างซ่อมนาฬิกา
ปี 2520 เปิดสอนแผนกวิชาช่างเครื่องทำความเย็น
ปี 2521 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ (ปชม.) เข้าเรียนเป็นเวลา 1 ปี (1,350 ชั่วโมง) รวม 5 แผนกวิชา คือ ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า ช่างวิทยุ-โทรทัศน์ ช่างตัดเสื้อสตรี บัญชี และพิมพ์ดีด
ปี 2524 เปิดสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาช่างเครื่องยนต์เล็กและมอเตอร์ไซด์ ใช้เวลาเรียน 225 ชั่วโมงและหลักสูตรช่างฝีมือทดแทนช่างก่อสร้างประเภทก่ออิฐ งานปูน เรียนในโรงเรียน 2 เดือน แล้วส่งไปฝึกงานในสถานประกอบการ 6 เดือน รวม 8 เดือน
ปี 2526 ก่อสร้างอาคารเรียนและปฏิบัติการ 6 ชั้น 1 หลัง
ปี 2529 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “สถานศึกษาเร่งรัดพัฒนาดีเด่น”
ปี 2530 เปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นใช้เวลาเรียน 225 ชั่วโมง 3 แผนกวิชา คือ ออกแบบเสื้อ ศิลปะประดิษฐ์ ช่างซ่อมจักร
ปี 2531 ได้รับการคัดเลือกให้เป็น “สถานศึกษาดีเด่น” ของกรมอาชีวศึกษา
ปี 2532 ก่อสร้างอาคารเยนและปฏิบัติการ 4 ชั้น 1 หลัง
ปี 2535 เปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยสารพัดช่างนครหลวง” ได้เป็น “สถานศึกษาดีเด่นรางวัลพระราชทาน”
-
ระดับการศึกษาวิชาชีพเปิดสอนวิชา คอมพิวเตอร์ โปรแกรม
-
คอมพิวเตอร์กับงานสำนักงาน เวลาเรียน 75 ชั่วโมง
-
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ดีเบล ทรี พลัส เวลาเรียน 75 ชั่วโมง
-
การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โลตัส 1-2-3 เวลาเรียน 75 ชั่วโมง
ปี 2537 ก่อสร้างอาคารแฟลตที่พักภารโรง 4 ชั้น 1 หลัง เปิดสอนเพิ่มอีก 2 หลักสูตร คือ
-
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ใช้เวลาเรียน 3 ปี เปิดสอน 3 แผนกวิชา คือ ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์
-
หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น วิชาช่างซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ ใช้เวลาเรียน ชั่วโมง เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษา กับบริษัทโตโยมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด